วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558



โครงงาน วิทยาศาสตร์ประเภทสิ่งประดิษฐ์


เรื่อง    แชมพูสระผม



จัดทำโดย

.. สลิดา    พันโท                 (หัวหน้า)

..  สุภาพร      คล้ายลี    (รองหัวหน้า)

..  ธนัญญา   แช่มวงษ์             (เลขา)

.พัชรี      แก้วงาม               (ผู้ช่วย)

..  ธนดล    ตันหลิม               (ผู้ช่วย)

อาจารย์ที่ปรึกษา

อาจารย์  ภาวัต    กันตศรี 

 โรงเรียนวัดบางลี่(วุฒิพันธุ์วิทยา) อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี โครงงานฉบับนี้เป็นส่วนประกอบของวิชาคอมพิวเตอร์ ระดับช่วงชั้นที่ 3




 กิตติกรรมประกาศ
 โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง แชมพูสมุรไพร
เพื่อศึกษาทดลอง โดยได้รับการสนับสนุนจาก  เพื่อนร่วมกลุ่มและ
คุณครู ภาวัต  กันตศรี ที่ได้ให้คำปรึกษาในการ     จัดทำโครงงาน ที่ได้ให้ข้อเสนอแนะ แนะนำเอกสารตำราต่างๆที่ศึกษาค้นคว้า
        คณะผู้จัดทำ ขอขอบพระคุณทุกท่านดังที่ได้กล่าวถึงมาข้างต้น และที่ไม่ได้กล่าวถึงไว้ ณ ที่นี้เป็นอย่างสูง



 บทคัดย่อ
       โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง แชมพูมะกรูด
จัดทำโดยใช้ 1.  มะกรูด   ( ไม่จำกัดจำนวน แล้วแต่จะหาได้ )
                     2.  น้ำเปล่า   เกลือ
                     3.  กะละมัง  กระชอน หรือผ้าขาวบาง  เครื่องปั่นน้ำผลไม้   มีด                เขียง
                    4.ขวดแก้ว  หรือ ขวดพลาสติก  ตามแต่จะหาได้
                    5.N 70
        ผลที่ได้จากการจัดทำโครงงานนี้    ประสิทธิภาพต่อการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ของผิวมะกรูดอยู่ที่ส่วนน้ำมันหอมระเหยซึ่งผิวมะกรูดจะมีประสิทธิภาพในการยับยั้ง
การเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆได้ดีกว่าใบมะกรูด  (เนื่องจากมีปริมาณน้ำมันหอมระเหยที่น้อยกว่าผิวมะกรูด) จุลินทรีย์ที่ถูกยับยั้งได้ง่ายคือราดังนั้นจึงมีการนำน้ำมันหอมระเหยไปเป็นส่วนผสมในแชมพูสระผมเพื่อกำจัดรังแคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา




   บทที่   1

บทนำ
 ที่มาและความสำคัญ
           มะกรูด เป็นพืชสมุนไพรที่ใช้บำรุงเส้นผมและหนังศีรษะมาแต่โบราณ น้ำมะกรูดมีความ เป็นกรด คือมีค่าความเป็นกรด-ด่าง ประมาณ 2 – 2.5 ส่วนผิวมะกรูดมีน้ำมันหอมระเหยที่ สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อราบนหนังศีรษะ ทำให้ลดการเกิดรังแค ช่วยบำรุงรากผม ลด อาการผมร่วง และทำให้ผมดำ เงางาม หลังจากสระผมด้วยแชมพู
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาจัดทำแชมพูมะกรูด
ศึกษาเพื่อทราบค่า ph ของแชมพูมะกรูดควรมีค่า ph เท่าไร
ศึกษาเพื่อทราบประสิทธิภาพการกำจัดคราบไขมันและรังแคบนหนังศีรษะของแชมพูมะกรูด



ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
     การใช้สมุนไพรบำรุงเส้นผมและหนังศีรษะ อาจใช้ผสมกันหลายชนิดก็ได้ เช่น มะกรูด ผสมกับอัญชัน ว่านหางจระเข้ผสมกับอัญชัน กล้วยหอมผสมกับน้ำมันมะพร้าว หรือน้ำผึ้ง โยเกิร์ต เพื่อเพิ่มการบำรุงเส้นผมและให้เหมาะกับปัญหาของเส้นผม จะเห็นว่าเป็นวิธีง่ายๆและไม่ยุ่งยาก ในการบำรุงรักษาเส้นผมที่มีปัญหา ให้กลับคืนมาเป็นเส้นผมที่มีสุขภาพดีโดยเร็ว ด้วยการใช้ สมุนไพรที่หาง่าย ราคาไม่แพง ทำเองที่บ้านก็ได้ เป็นการประหยัดเงินและเวลา นอกจากนี้ยังมี ปัจจัยอื่นๆที่ช่วยส่งเสริมให้เส้นผมและหนังศีรษะมีสุขภาพที่ดี คือ การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ ให้สะอาดเสมอ ในระหว่างสระผมและบำรุงผมด้วยสมุนไพรหรือครีมนวดผมต้องนวดศีรษะด้วย เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดให้ไปเลี้ยงรากผมได้ทั่วถึง การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์แต่งผมที่มี คุณภาพและให้เหมาะกับสภาพของเส้นผมและหนังศีรษะ ลดการทำร้ายเส้นผม เช่น การดัด การ ย้อมสีผม การไดร์ผมบ่อยๆ และที่สำคัญคือ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อเส้นผม





บทที่   2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

              มะกรูด มะกรูดมีการใช้ประโยชน์อย่างมาก เป็นได้ทั้งเครื่องเทศและยาสมุนไพร สามารถนำไปประกอบอาหารดับกลิ่นคาวและเป็นยารักษาโรค เช่น ช่วยแก้อาการท้องอืด แก้ปวดท้อง บำรุงโลหิตสตรี ขับเสมหะ ฯลฯ นอกจากการบริโภคเป็นอาหารและเป็นยารักษาโรคแล้ว ยังสามารถนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอางประเภทต่าง ๆได้อีกด้วย เช่น แชมพู ครีมนวด ครีมหมักผมเป็นต้น ส่วนต่าง ๆของมะกรูด สามารถเก็บรักษาไว้ในรูปของแห้ง คือ ใบมะกรูดแห้ง และผิวมะกรูดแห้ง หรือน้ำมันหอมระเหยสารสกัดวิธีต่างๆปัจจุบันความต้องการมะกรูดของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศมีแนวโน้มที่สูงขึ้น เนื่องด้วยสรรพคุณของมะกรูดที่มีความหลากหลาย แต่เกษตรกรมักจะปลูกมะกรูดกันในลักษณะเป็นพืชผักสวนครัว หรือพืชรองเท่านั้น
ชื่อภาษาไทย มะกรูด
ชื่อสามัญ Porcupine Orange, Kiffir Lime, Leech Lime, Mauritius papeda
ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus hystrix DC.
ชื่อวงศ์ RUTACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
1. มะกรูด เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นสูง 2 – 12 เมตร ลำต้นและกิ่ง มีหนามแหลม
2. ใบมะกรูด มีลักษณะเป็นรูปไข่กว้างถึงไข่แกมรี หรือขอบขนาน ขนาดของใบกว้าง 2-6 เซนติเมตรยาว3–15เซนติเมตรปลายใบมน โคนใบสอบหรือมน ขอบใบ จักมน ก้านใบมีปีกเป็นแผ่นคล้ายใบคล้ายรูปลิ่มหรือไข่หัวกลับ ใบเป็น2ตอน ใบค่อนข้างหนามีสีเขียวแก่แผ่นใบมีต่อมน้ำมันใส มีกลิ่นหอม
3. ดอกมีสีขาว อยู่บริเวณตรงซอกใบ มีกลิ่นหอม มีลักษณะเป็นทั้งดอกเดี่ยวและดอกช่อ มี 2 -12ดอก
กลีบเลี้ยง มี 4-5 กลีบ เป็นรูปไข่กว้าง ปลายแหลม
กลีบดอก มี 4-5 กลีบ กลีบหนา รูปไข่แกมรี ปลายมนแหลม ด้านนอกมีต่อมน้ำมันกลีบร่วงง่าย
เกสรเพศผู้ มีจำนวนมาก ก้านเกสรสีขาว อับเรณูสีเหลืองอ่อน
เกสรเพศเมีย คล้ายรูปกระบอง สีเหลืองแกมเขียว ยอดเกสรกลม สีเหลืองแกมเขียว
รังไข่ ค่อนข้างกลม ส่วนบนกว้าง มีหลายช่อง


4. ผล เป็นผลเดี่ยวค่อนข้างกลม บางพันธุ์มีผิวขรุขระ มีจุกที่หัวผล เปลือกหนา สีเขียวเมื่อสุกมีสีเหลืองมีเมล็ดหลายเมล็ด โครงสร้างด้านในคล้ายพืชตระกูลส้ม ขนาดของผลประมาณ 3 – 7 เซนติเมตร
แหล่งที่พบ
ไม่ทราบแหล่งกำเนิด แต่พบมากตามธรรมชาติในมาเลเซีย อินเดีย ศรีลังกา พม่า และแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การใช้ประโยชน์จากมะกรูด
1. ใช้ส่วนต่าง ๆ ของมะกรูด เป็นยาหรือส่วนผสมของยาต่าง ๆ1. 1 ใบมะกรูด มีรสปร่า กลิ่นหอม แก้ไอ แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้ช้ำใน ดับกลิ่นคาว
1.2. ผลลูกมะกรูด มีรสเปรี้ยว กัดเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว กัดเถาดานในท้อง แก้ระดูเสีย ฟอกโลหิต ขับระดู ขับลมในลำไส้
1.3 ผิวลูกมะกรูด มีรสปร่า กลิ่นหอมร้อน ขับลมในลำไส้ ขับระดู ขับผายลม
1.4 น้ำในลูกมะกรูด มีรสเปรี้ยว แก้ไอเสมหะ ฟอกโลหิต ขับระดู ขับลมในลำไส้
1.5 ราก มีรสจืดเย็น แก้ไข้ ถอนพิษสำแดง แก้ลมจุกเสียด กระทุ้งพิษไข้ แก้พิษฝีภายใน
แก้ เสมหะ
2. ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหอมและเครื่องสำอางต่าง ๆ
3. กรดซิตริกที่อยู่ในมะกรูด ช่วยขจัดคราบสบู่ที่หลงเหลืออยู่ ทำให้ผมหวีเรียบง่าย น้ำมันจากผิวมะกรูดช่วยให้ผมดกเป็นเงางาม
4. ใช้ปรุงแต่งกลิ่นรสอาหาร ดับกลิ่นคาวของอาหาร ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงต่าง ๆ






บทที่  3

วิธีดำเนินการโครงงาน

อุปกรณ์
   
   1.  มะกรูด   ( ไม่จำกัดจำนวน แล้วแต่จะหาได้ )
   2.  น้ำเปล่า  
   3.  ผ้าขาวบาง  เครื่องปั่นน้ำผลไม้   มีด  เขียง
   4.  ภาชนะที่ใช้บรรจุ





วิธีทำ  แชมพูสมุนไพร 


1. นำมะกรูดมาย่างกับไฟอ่อนๆ




2.นำมะกรูดที่ย่างเเล้วมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ  นำเม็ดออก





3.นำมะกรูดที่หั่นเเล้วมาปั่น ให้ละเอียด ใส่น้ำให้เท่ากับเปลือกมะกรูด




4.  นำเนื้อมะกรูดที่ปั่นเเล้วมาคั้นด้วยผ้าขาวบาง จะได้เนื้อมะกรูดเข้มข้น





5.  จัดใสภาชนะบรรจุ



 สูตรที่2 แชมพูอัญชัญ



อุปกรณ์
   
   1.  น้ำอัญชัญ                                                
   2.  หัวเชื้อแชมพูมุก                                  1,400  กรัม
   3.  สารให้ความนุ่มเข้มข้น (SME29)         50       ซีซี
   4.  น้ำสะอาด                                            100     กรัม
   5.  เกลือ                                                   30       กรัม
   6.  สารกันเสีย                                           2         ซีซี
   7.  น้ำหอม                                               10        ซีซี




วิธีทำแชมพูมุกสมุนไพร



1.จัดเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม





2. เทน้ำสมุนไพรลงในภาชนะ





3. เท SME29 ใส่น้ำสมุนไพรที่เตรียมไว้และกวนให้เข้ากัน






4. เทแชมพูมุกและกวนให้เข้ากัน





5.ใส่สารกันเสียคนให้เข้ากัน






6.ใสหัวเชื้อน้ำหอมลงไปคนให้เข้ากัน





7.เทน้ำสะอาดลงไปและกวนให้เข้ากัน




8.นำไปบรรจุในภาชนะ






สูตรที่3 ว่านหางจระเข้


สูตรแชมพูว่านหางจระเข้ บำรุงเส้นผมให้นุ่มสลวย 




1. เอ็น 70 1 กิโลกรัม (สารชำระล้างหรือหัวเชื้อที่นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์ชำระล้างแทบทุกชนิด)

2. ลาโนลิน 100 ซีซี (น้ำมันสกัดขนแกะช่วยทำให้ผมเป็นมันมีน้ำหนัก )

3. เอบีซี 100 ซีซี (ช่วยทำให้ผมนิ่ม)

4. น้ำต้มละลายเกลือ 1 กิโลกรัม

5. น้ำว่านหางจระเข้ 1 กิโลกรัม

6. น้ำสะอาด 7 กิโลกรัม
7. สารกันเสีย 10 ซีซี
8. เคดี 100 ซีซี (ตัวยาทำให้ข้นชนิดน้ำ)
9. น้ำหอม 10 ซีซี


วิธีทำแชมพูว่านหางจระเข้


1. นำเอ็น 70 ใส่ถัง ผสมน้ำเกลือต้ม 1 กิโลกรัมแล้วกวนให้เป็นครีมขาวเนื้อเดียวกัน






2. เติมลาโนลินแล้วกวนให้เข้ากันประมาณ 5-10 นาที






3. เติมเอบีซีและเคมี กวนต่อประมาณ 10 นาที ให้เนื้อเนียน







4. ใส่น้ำสมุนไพรว่านหางจระเข้ลงไปกวน 10 นาที เติมน้ำสะอาดกวนต่ออีก 1 ชั่วโมง แล้วหยุดพัก เพื่อให้ฟองยุบตัว แล้วพักไว้ประมาณ 6 ชั่วโมง





5. เติมน้ำหอมกวนต่ออีก 10 นาที เติมสารกันเสียกวนต่ออีก 15-30 นาที





6. ปรับความเข้มข้นด้วยน้ำเกลือให้ได้ความเหนียวพอเหมาะ แล้วทิ้งไว้ให้ฟองยุบตัว หลังจากนั้นนำไปบรรจุขวดนำไปใช้ได้




วิธีการดำเนินโครงงาน

 3.1 วิธีการดำเนินโครงงาน

ลำดับที่


กิจกรรม

ระยะเวลาในการดำเนินโครงงาน
สัปดาห์
ที่1
สัปดาห์
ที่2
สัปดาห์
ที่3
สัปดาห์
ที่4
สัปดาห์
ที่5
สัปดาห์
ที่6
สัปดาห์
ที่7
สัปดาห์
ที่8
1
กำหนดชื่อโครงงาน
2
กำหนดวัตถุประสงค์โครงงาน
3
กำหนดขั้นตอนในการทำโครงงาน
4
สืบค้นข้อมูลเพื่อจำทำโครงงาน
5
จัดทำโครงงาน
6
ลงมือทำโครงงาน
7
การเขียนรายงาน
8
การนำเสนอและแสดงผลงาน


บทที่4

ผลการดำเนินงาน
             4.1) ผลการดำเนินงาน
   คณะผู้จัดทำสามารถดำเนินการได้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีโดยการวางแผนวิธีดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน และมีการนำเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตมาใช้ในการทำโครงงาน เช่น
1.การรวบรวมข้อมูล “แชมพูสมุนไพร” จากทางอินเตอร์เน็ต

2.การศึกษาวิธีการสร้างเว็บบล็อกเพื่อใช้เป็นสื่อในการเผยแพร่ความรู้เรื่อง “แชมพูสมุนไพร”จากทางอินเตอร์เน็ต



บทที่ 5
สรุป   อภิปรายและข้อเสนอแนะ
การจำทำโครงงานแชมพูสมุนไพร นี้สามารถสรุปผลการดำเนินโครงงาน และข้อเสนอแนะ ดังนี้

 วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1. เพื่อให้รู้ถึงสรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิดที่นำมาทำแชมพู
2.ลดค่าใช้จ่ายให้ครัวเรือนและใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติให้มากขึ้น
3.สามารถใช้ประกอบอาชีพได้
4.ลดการใช้สารเคมีมากขึ้น


สรุปผลการดาเนินงานโครงงาน

     จากการดำเนินงานโครงงาน วิทยาศาสตร์ประเภทสิ่งประดิษฐ์ เรื่อง แชมพูสมุนไพร   ในครั้งนี้สรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้

       ทำให้ได้เว็บบล็อกเรื่อง แชมพูสมุนไพร  เป็นการทำให้เกิดประโยชน์กับบุคคลที่สนใจทั่วไป   ส่งเสริมให้ทุกคนมีสุขภาพหนังศรีษะที่สะอาดและสามารถสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน

ข้อเสนอแนะ 
ควรมีการจัดทาเนื้อหาของโครงงานให้หลากหลายให้ครบทุกกลุ่มสาระ การเรียนรู้

 ปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการพัฒนา
        1.  เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอกับการทำโครงงาน และบางครั้งอินเทอร์เน็ตมีปัญหา
        2.  สมาชิกในกลุ่มบางคนให้ความร่วมมือน้อยเพราะไม่ค่อยใส่ใจกับโครงงานนักจึงทำให้เสียเวลาและทำให้โครงงานเสร็จช้า








ภาคผนวก
























ที่อยู่เว็บบล็อกของผู้จัดทำ





บรรณนานุกรม
http://cind0rela.blogspot.com/2014/04/how-to.html
http://www.yesspathailand.com/
http://krupawana.igetweb.com/articles/422304/